วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ประเทศเวียดนาม (Vietnam) : ภาษาเวียดนาม

ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ


ภาษาเวียดนาม (Tiếng Việt, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึง 87% รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "อักษรจื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต์

ตระกูลภาษา

ภาษาเวียดนามจัดอยู่ในสาขาเหวียด-เหมื่อง (Viet-Muong) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร (Mon-Khmer) หรือตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) ประกอบด้วยภาษาเขมร ภาษามอญ ภาษามุนดา เป็นต้น แต่นักภาษาศาสตร์บางส่วนเห็นว่าควรจัดภาษาเวียดนามให้เป็นอีกสาขาหนึ่ง แยกจากภาษามอญ-เขมร

สำเนียงท้องถิ่น

ภาษาเวียดนามมีสำเสียงท้องถิ่นที่หลากหลาย แต่โดยมากถือว่ามี 3 หลัก ดังนี้
ถิ่นหลักท้องถิ่นชื่อในยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส
เวียดนามตอนเหนือถิ่นฮานอย, ถิ่นอื่นทางเหนือ: ไฮฟอง และถิ่นระดับจังหวัดจำนวนมากตังเกี๋ย
เวียดนามตอนกลางถิ่นเว้, ถิ่นเหงะอาน, ถิ่นกว๋างนามอันนัมสูง
เวียดนามตอนใต้ถิ่นไซ่ง่อน, ถิ่นแม่น้ำโขง (ตะวันตกไกล)โคชินไชนา
ภาษาถิ่นเหล่านี้มีน้ำเสียง การออกเสียง และบางครั้งก็มีคำศัพท์ที่แตกต่างไปบ้าง แม้ว่าภาษาถิ่นฮเว้จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างค่อนข้างมากจากอื่นก็ตาม วรรณยุกต์ "หอย" และ "งะ" มีความแตกต่างในภาคเหนือ แต่กลืนเป็นวรรณยุกต์เดียวกันในภาคใต้
เสียง "ch" และ "tr" นั้นออกเสียงแตกต่างกันในถิ่นใต้และกลาง แต่รวมเป็นเสียงเดียวในถิ่นเหนือ สำหรับความแตกต่างด้านไวยากรณ์นั้นไม่ปรากฏ

ระบบเสียง

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะในภาษาเวียดนามมีหน่วยเสียงตามตารางทางด้านล่าง โดยอักษรทางด้านซ้ายเป็นอักษรที่ใช้เขียนแทนหน่วยเสียงนั้น ๆ ในภาษาเวียดนาม อักษรตรงกลางเป็นสัทอักษร และด้านขวานั้นเป็นอักษรไทยที่นิยมทับศัพท์
ริมฝีปากปุ่มเหงือกปลายลิ้นม้วนเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
กักไม่ก้องp [p] ปt [t] ตtr [tʂ~ʈ] จch [c~tɕ] จc/k [k] ก
ธนิต th [tʰ] ท
ก้องb [ɓ] บđ [ɗ] ดd [ɟ] ซ
เสียดแทรกไม่ก้องph [f] ฟx [s] สs [ʂ] ซkh [x] คh [h] ฮ
ก้องv [v] วgi [z] ซr [ʐ~ɹ] ซg/gh [ɣ] ก
นาสิกm [m] มn [n] นnh [ɲ] ญng/ngh [ŋ] ง
เปิดu/o [w] วl [l] ลy/i [j] ย
สำเนียงต่างๆของเวียดนาม
รูปแบบค่าเสียงอ่านเหนือกลางตอนเหนือกลางใต้
พยัญชนะต้นx[s] ส[s] ส[s] ส[s] ส
s[ʂ] ส(ม้วนลิ้น)[ʂ] ส(ม้วนลิ้น)[ʂ] ส(ม้วนลิ้น)
ch[tɕ] จ[tɕ] จ[tɕ] จ[tɕ] จ
tr[tʂ] จ(ม้วนลิ้น)[tʂ] จ(ม้วนลิ้น)[tʂ] จ(ม้วนลิ้น)
r[z] ซ(ก้อง)[ɻ] ร(ม้วนลิ้น)[ɻ] ร(ม้วนลิ้น)[ɻ] ร(ม้วนลิ้น)
d[ɟ] กึ่ง จ กึ่ง ก (ก้อง)[j] ย[j] ย
gi[z] ซ(ก้อง)
v[1][v] กึ่ง ฟ กึ่ง ว[v] กึ่ง ฟ กึ่ง ว
ตัวสะกดc[k][k] ก[k] ก[k] ก
t[t] ต[t] ต
t
หลัง e
[k, t] ก/ต
t
หลัง ê
[t] ต[k, t] ก/ต
t
หลัง i
[t] ต
ch[ʲk] จ/ก[k] ก
ng[ŋ] ง[ŋ] ง[ŋ] ง[ŋ] ง
n[n] น[n] น
n
after iê
[n] น[n] น
nh[ʲŋ] ญ/ง[ŋ] ง

เสียงสระ

 หน้ากลางหลัง
สูงi [i] /-ิ/ư [ɨ/ɯ] /-ือ/u [u] /-ู/
กลางสูงê [e] /เ-/ơ [əː/ɤː] /เ-อ/ô [o] /โ-/
กลางต่ำe [ɛ] /แ-/â [ə/ɤ/ɜ] /เ-อะ/o [ɔ] /-อ/
ต่ำă [a] /-ะ/ , a [aː] /-า/

เสียงวรรณยุกต์


นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาภาษาเวียดนามและจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่นเดียวกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาระบบคำสองพยางค์ (Disyllable) และมีลักษณะน้ำเสียง (Register) เป็นลักษณะสำคัญของภาษา อีกทั้งเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันได้พัฒนาระบบเสียงวรรณยุกต์ขึ้นใช้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ อันได้แก่ ภาษาตระกูลไท (Tai familly) ที่อยู่โดยรอบ และภาษาจีนที่เข้ามาปกครองเวียดนามในขณะนั้น
สระในภาษาเวียดนามนั้น ออกเสียงโดยมีวรรณยุกต์ภายใน (thanh หรือ thanh điệu) โดยวรรณยุกต์ มีความแตกต่างกันที่
  • ระดับเสียง
  • ความยาว
  • น้ำเสียงขึ้นลง
  • ความหนักแน่น
  • การออกเสียงคอหอย (ลักษณะเส้นเสียง)
เครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์นั้น ปกติจะเขียนเหนือหรือใต้สระ (ส่วนใหญ่เขียนไว้เหนือสระ แต่วรรณยุกต์หนั่ง (nặng) เป็นจุดใต้สระ) วรรณยุกต์ทั้ง 6 ในภาษาถิ่นเหนือ (รวมฮานอยด้วย) มีดังนี้
ชื่อลักษณะเครื่องหมายตัวอย่างตัวอย่างสระออกเสียง
ngang   'ระดับ'สูงระดับ ˧(ไม่มีเครื่องหมาย)ma  'ผี'เกี่ยวกับเสียงนี้ a อา
huyền   'แขวน'ต่ำตก ˨˩`  'แต่'เกี่ยวกับเสียงนี้ à อ่า
sắc   'คม'สูงขึ้น ˧˥´  'แก้ม, แม่ (ถิ่นใต้) 'เกี่ยวกับเสียงนี้ á อ๊า
hỏi   'ถาม'ต่ำขึ้น ˧˩˧ ̉mả  'หลุมศพ, สุสาน'เกี่ยวกับเสียงนี้  อ๋า
ngã   'ตก'สูงขึ้นหยุด ˧˥ˀ˜  'ม้า (จีน-เวียดนาม), รหัส'เกี่ยวกับเสียงนี้ ã อะ-อ๊ะ
nặng   'หนัก'ต่ำตกหยุด ˧˨ˀ ̣mạ  'สีข้าว'เกี่ยวกับเสียงนี้  อ่า*(เสียงหนัก)

ไวยากรณ์

ภาษาเวียดนามเป็นภาษารูปคำโดดเช่นเดียวกับภาษาจีนและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ไวยากรณ์เน้นที่การเรียงลำดับคำและโครงสร้างประโยคมากกว่าการผันคำ แสดงการโดยการเพิ่มคำเช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดด แต่ก็มีคำสองพยางค์อยู่เป็นจำนวนมาก การเรียงคำในประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม

กาล

ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องแสดง โดยทั่วไปอดีตแสดงโดยคำว่า đã ปัจจุบันกาลกำลังกระทำ เติม đang อนาคตเติม sẽ

โครงสร้างแสดงหัวข้อ

เป็นโครงสร้างประโยคที่สำคัญในภาษาเวียดนาม ตัวอย่างเช่น Toi đọc sách này rồi = ฉันอ่านหนังสือนี้แล้ว อาจเรียงประโยคใหม่เป็น Sách này thi toi đọc rồi = หนังสือนี้น่ะฉันอ่านแล้ว (thi เป็นตัวแสดงหัวข้อ)

พหูพจน์

โดยทั่วไปไม่ต้องแสดง ถ้าแสดงจะใช้คำเติมเข้าไปในประโยค เช่น những, các, chúng

ลักษณนาม

ภาษาเวียดนามมีคำลักษณนามใช้แสดงลักษณะของนามเช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาจีน เช่น con ใช้กับสัตว์ cái ใช้กับสิ่งของไม่มีชีวิต คำลักษณนามบางคำอาจใช้ร่วมกันได้ เช่น cái con

คำสรรพนาม

คำสรรพนามในภาษาเวียดนามต่างจากภาษาอังกฤษ คือคำสรรพนามแต่ละคำไม่ได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจนว่าเป็นบุรุษที่ 1 2 หรือ 3 ขึ้นกับผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนั้นยังต้องระมัดระวังในการระบุความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งขึ้นกับอายุและเพศ

การซ้ำคำ

พบมากในภาษาเวียดนามซึ่งเป็นการสร้างคำใหม่ ซึ่งมีความหมายต่างไปจากเดิม เช่นเป็นการลดหรือเพิ่มความเข้มของคำคุณศัพท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น