ประเทศบรูไน
ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (มาเลย์: Bahasa Melayu) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์-เลสเต
ในการใช้ภาษาเกมทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน
หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม
เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น
มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน
ไวยากรณ์
ภาษามาเลย์เป็นภาษารูปคำติดต่อ
การสร้างคำใหม่ทำได้ 3 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์
สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ
หน่วยคำเติม
รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา
ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak
(ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร)
บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu
(กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil
(เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)
หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ
ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์
คำประสม
คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค
คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta
หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta
api หมายถึงรถไฟ kita หมายถึง เรา kasih
" รัก kamu "คุณ รวมกันเป็น
เรารักคุณ
การซ้ำคำ
การซ้ำคำในภาษามาเลย์มี 4
แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย
ลักษณนาม
ภาษามาเลย์มีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย
เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาเบงกาลี
คำหน้าที่
มี 16 ชนิด
เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ
และคำอื่น ๆ
คำปฏิเสธ
คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามาเลย์มี 2 คำ คือ bukan และ tidak
bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์
ประธาน
|
คำปฏิเสธ
|
การบ่งชี้
|
Lelaki
yang berjalan dengan Fazila itu
(เด็กชายคนนั้นที่กำลังเดินกับฟาซีลา) |
bukan
(ไม่ใช่) |
teman
lelakinya
(แฟนของหล่อน) |
Surat
itu
(จดหมายฉบับนั้น) |
bukan
(ไม่ได้) |
daripada
teman penanya di Perancis
(มาจากญาติของเขาในฝรั่งเศส) |
Pelajar-pelajar
itu
(นักเรียนเหล่านั้น) |
tidak
(ไม่) |
mengikuti
peraturan sekolah
(เชื่อฟังกฎของโรงเรียน) |
Penguasaan
Bahasa Melayunya
(คำสั่งของเขาในภาษามาเลย์) |
tidak
(ไม่) |
sempurna
(สมบูรณ์) |
คำ bukan อาจใช้นำหน้า
กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง
ประธาน
|
การปฏิเสธ
|
การทำนาย
|
ความขัดแย้ง
|
Karangannya
(เรียงความของเขา) |
bukan
(ไม่) |
baik
sangat,
(ดีมาก) |
tetapi dia mendapat markah yang baik
(แต่เขาได้คะแนนดี) |
Kilang
itu
(โรงงาน) |
bukan
(ไม่) |
menghasilkan
kereta Kancil,
(ผลิตรถ Kancil ) |
sebaliknya
menghasilkan Proton Wira
(แต่ผลิต Proton Wira แทน) |
เพศทางไวยากรณ์
โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ
มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik
laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ
putera (เจ้าชาย)
การทำให้เป็นพหูพจน์
โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan
แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น
orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang
แต่ใช้ banyak orang (ตรงตัว: คนหลายคน)คน 1
พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์
นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย
เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท
hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา
การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามาเลย์
คำกริยา
ไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล
แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว)
แต่ภาษามาเลย์มีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ
ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา
การเรียงลำดับคำ
โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์
คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น