ประเทศเมียนมาร์
หรือพม่า (Myanmar)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า
และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังคลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์
มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง
และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS
ภาษาถิ่นและสำเนียง
ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง
ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง
ภาษาถิ่นในเขตยะไข่หรืออารกัน ยังมีเสียง
/ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้างๆได้ 2
ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง
ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา
ระบบเสียง
พยัญชนะ
ริมฝีปากทั้งสอง
|
ริมฝีปากล่าง-ฟันบน
|
ปุ่มเหงือก
|
หลังปุ่มเหงือก
และ เพดานแข็ง |
เพดานอ่อน
|
ผนังคอ
|
ไม่มีที่
|
|
เสียงกัก
และ เสียงผสมเสียดแทรก
|
pʰ p b
|
tʰ t d
|
tɕʰ tɕ dʑ
|
kʰ k ɡ
|
ʔ
|
|
|
เสียงนาสิก
|
m̥ m
|
n̥ n
|
ɲ̥ ɲ
|
ŋ̊ ŋ
|
|
ɴ
|
|
เสียงเสียดแทรก
|
|
θ (ð)
|
sʰ s z
|
ʃ
|
|
h
|
|
เสียงเปิด
|
|
(ɹ)
|
j
|
(w̥) w
|
|
||
เสียงข้างลิ้น
|
|
l̥ l
|
|
การถอดเป็นอักษรโรมัน
ภาษาพม่าไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน
คำหลายคนสะกดต่างจากที่ออกเสียง เช่น คำว่าพระพุทธเจ้า ออกเสียงว่า pha-ya แต่เขียนว่า bu-ya การถอดภาษาพม่าเป็นอักษรโรมันจึงทำได้ยากแต่พอจะใช้การถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาบาลีมาเทียบเคียงได้
หรือบางทีอาจใช้ระบบMLCTS
ไวยากรณ์
การเรียงคำเป็นแบบ
ประธาน-กรรม-กริยา ยกเว้นคำว่า ga (เป็น) ซึ่งจะวางต่อจากประธาน
คำสรรพนามเปลี่ยนตามเพศและสถานะของผู้ฟัง เป็นภาษาพยางค์เดี่ยว
แต่มีรากศัพท์และการเติมคำอุปสรรค การเรียงคำในประโยคไม่มีบุพบท
สันธานแต่ใช้การเติมปัจจัย
คำคุณศัพท์
คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม
เช่น chuo-dé lu (สวยงาม + dé + คน = คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย)
การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค à-คำคุณศัพท์-ปัจจัย zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม
คำกริยา
รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่างน้อย
1 ตัว เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา
เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน
ตัวอย่างเช่น คำกริยา sá (กิน) เป็น
·
sá-dè = กิน ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจุบันกาลหรือใช้เน้นย้ำ
·
sá-gè-dè = กินแล้ว ปัจจัย gè/kè แสดงอดีตแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ปัจจัย dè ในที่นี้เป็นการเน้นย้ำ
·
sá-nei-dè = กำลังกิน nei เป็นอนุภาคแสดงว่าการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น
·
sá-bi = กำลังกินอยู่ ปัจจัย bi นี้ใช้กับการกระทำที่ประธานเริ่มกระทำและยังไม่เสร็จสิ้น
·
sá-mè = จะกิน อนุภาค mè นี้ใช้แสดงอนาคตและยังไม่เกิดขึ้น
·
sá-daw-mè = จะกิน(ในไม่ช้า) อนุภาค daw
ใช้กับเหตุการณ์ที่ใกล้จะเกิดขึ้น
คำนาม
คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย
dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกด)
อาจใช้ปัจจัย myà ที่แปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่างเช่น nwá
= วัว nwá- dei = วัวหลายตัว
จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อมีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็ก 5 คน ใช้ว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน)
ลักษณนาม
ภาษาพม่ามีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามาเลย์ คำลักษณนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่
·
bá ใช้กับคน (เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชี)
·
kaung ใช้กับสัตว์
·
ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป
·
kwet ใช้กับสิ่งที่บรรจุของเหลวเช่น ถ้วย
·
lóun ใช้กับวัตถุรุปกลม
·
pyá ใช้กับวัตถุแบน
·
sin หรือ zín ใช้กับสิ่งที่มีล้อ
เช่นรถ
·
su ใช้กับกลุ่ม
·
ú ใช้กับคน (เป็นทางการ)
·
yauk ใช้กับคน (ไม่เป็นทางการ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น