ประเทศกัมพูชา
(Cambodia)
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ภาษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร) เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร
ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ มาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ต่อวัฒนธรรมของชาวเขมร
ในขณะที่อิทธิพลอื่นๆ เช่น จากภาษาไทย และภาษาลาว เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา
และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์
ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว
และภาษาเวียดนาม)
เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์
ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี
มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง)
และเมืองพระตะบองในชนบท
โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่
·
สำเนียงพระตะบอง พูดทางแถบภาคเหนือของประเทศกัมพูชา
·
สำเนียงพนมเปญ เป็นสำเนียงกลางของกัมพูชาเช่นเดียวกับสำเนียงกรุงเทพฯของไทย
โดยจะพูดในพนมเปญและจังหวัดโดยรอบเท่านั้น
·
สำเนียงเขมรบน หรือสำเนียงเขมรสุรินทร์ พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
·
สำเนียงแขมรกรอม หรือภาษาเขมรถิ่นใต้ พูดโดยชาวเขมรที่อาศัยแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม
·
สำเนียงคาร์ดามอน ถือเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดทางภาคตะวันตกของประเทศกัมพูชา
มีผู้ใช้ในแถบเขาคาร์ดามอน (เทือกเขากระวาน) และมีผู้ใช้จำนวนน้อย
ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ
คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย
เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น"มเปญ"
อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ
จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น
และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "dreey"
("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น
"เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง
"เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม"
ออกเสียงว่า kroich โกรชในชนบท
ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น koich โคช
ไวยากรณ์
ลำดับคำในภาษาเขมรมักจะเป็น
ประธาน-กริยา-กรรม ภาษาเขมรประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก
แต่การสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำก็มีมาก
ซึ่งไวยากรณ์นี้เป็นไวยากรณ์ชนิดเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย
อักษรเขียน
ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะคล้ายเลขไทย)
ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอารบิก ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2แบบ
·
อักษรเชรียง (อักซอเจรียง) หรืออักษรเอน หรืออักษรเฉียง เป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ทั่วไป
เดิมนั้นนิยมเขียนเป็นเส้นเอียง แต่ภายหลังเมื่อมีระบบการพิมพ์
ได้ประดิษฐ์อักษณแบบเส้นตรงขึ้น และมีชื่ออีกอย่างว่า อักษรยืน (อักซอโฌ)
อักษรเอนนี้เป็นตัวยาว มีเหลี่ยม เขียนง่าย ถือได้ว่าเป็นอักษรแบบหวัด
·
อักษรมูล หรืออักษรกลม เป็นอักษรที่ใช้เขียนบรรจง ตัวกว้างกว่าอักษรเชรียง
นิยมใช้เขียนหนังสือธรรม เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หรือการเขียนหัวข้อ ที่ต้องการความโดดเด่น หรือการจารึกในที่สาธารณะ
·
Romanization เขียนภาษาเขมรด้วยอักษรโรมัน
ในสมัยก่อน
มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย
อิทธิพลของภาษาเขมรในภาษาไทย
ภาษาเขมรมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน
โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่างๆ
ดังนี้
·
ในวรรณคดี (เช่น ลิลิตยวนพ่าย, โคลงกำสรวล, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง) ได้แก่ เพ็ญ,
พร, ไถง, ผกา, ผอูน, แข, อัญขยม, ฉนำ, จำรัส ฯลฯ
·
ในภาษาพูดทั่วไป เช่น จมูก, ถนน, อาจ, อำนาจ ฯลฯ
·
ในอาชีพต่างๆ เช่น เสมียน, ตำรวจ, ฯลฯ
·
ในราชาศัพท์ เช่น ขนง, โขนง, เขนย, บรรทม, เสด็จ ฯลฯ
·
ในชื่อบุคคล เช่น สมพร, สมาน ฯลฯ
·
ในชื่อสถานที่ เช่น ฉะเชิงเทรา, อำนาจเจริญ, เกาะเกร็ด, สตึก ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น