ประเทศอินโดนีเซีย
(Indonesia)
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ภาษาอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Bahasa Indonesia; อังกฤษ: Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน
เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย
ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa
Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอกาส
ประวัติ
ภาษาอินโดนีเซียเป็นทำเนียบภาษามาตรฐานของภาษามลายูรีเยาซึ่งแม้จะมีชื่อเรียกเช่นนั้นแต่ก็ไม่ใช่ภาษามลายูที่เป็นสำเนียงท้องถิ่นของหมู่เกาะรีเยา แต่หมายถึงภาษามลายูคลาสสิกที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านมะละกา จากเดิมที่มีผู้ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตราภาษามลายูได้กลายเป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันมาหลายร้อยปี
จารึกเกอดูกันบูกิตเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดที่ใช้ภาษามลายูโบราณซึ่งเป็นภาษาราชการในสมัยจักรวรรดิศรีวิชัย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ภาษามลายูโบราณได้มีการใช้ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย เห็นได้จากจารึกสมัยศรีวิชัย และจารึกอื่น
ๆ ตามบริเวณชายฝั่ง เช่นที่เกาะชวา การติดต่อค้าขายโดยชาวพื้นเมืองในเวลานั้นเป็นสื่อกลางในการแพร่กระจายของภาษามลายูโบราณในฐานะภาษาทางการค้า
และกลายเป็นภาษากลางที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลายในบริเวณหมู่เกาะ
ภาษาอินโดนีเซียได้พัฒนามาสู่สถานะของภาษาราชการเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชใน
พ.ศ. 2488 โดยเริ่มต้นจากการปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ
28 ตุลาคม พ.ศ. 2471ภาษาอินโดนีเซียในรูปแบบมาตรฐานจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษามาเลเซีย (ภาษามลายูมาตรฐานในมาเลเซียและบรูไน)
แต่มีความแตกต่างจากภาษามาเลเซียหลายประการเช่นการออกเสียงและคำศัพท์
ความแตกต่างนี้มาจากอิทธิพลของภาษาชวาและภาษาดัตช์ในภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซียยังได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูปาซาร์ (ภาษามลายูตลาด) ที่เป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะในสมัยอาณานิคม
มีการอ้างว่าภาษามลายูในมาเลเซียใกล้เคียงกับภาษามลายูคลาสสิกมากกว่า
แต่ภาษามาเลเซียสมัยใหม่ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านรากศัพท์และประโยคจากภาษาอังกฤษด้วย
ประเด็นที่ว่าภาษาอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดที่แท้จริงจากภาษามลายูระดับสูง
(ภาษามลายูราชสำนัก) หรือจากภาษามลายูระดับล่าง (ภาษามลายูตลาด)
กันแน่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ภาษามลายูระดับสูงเคยเป็นภาษาที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านยะโฮร์และในเขตบริหารของเนเธอร์แลนด์ในรัฐยะโฮร์ ส่วนภาษามลายูระดับล่างเป็นภาษาที่ใช้กันในสถานที่ซื้อขายและตามท่าเรือในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย
นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มกล่าวว่าภาษามาเลย์ระดับล่างนี้เป็นพื้นฐานของภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซียมีผู้พูดเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่หนึ่งเพียงส่วนน้อยของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซีย
(ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง เช่น จาการ์ตา เมดาน บาลิก์ปาปัน) แต่มีคนถึง 200 ล้านคนที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาประจำชาติโดยมีระดับความชำนาญแตกต่างกันไป
ในชาติที่มีภาษาพื้นเมืองมากกว่า 300 ภาษา
และยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายเช่นนี้
ภาษาประจำชาติมีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้คนจากเกาะต่าง
ๆ ทั่วประเทศ การใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติพบมากในสื่อ หน่วยงานราชการ
โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน และในสถานการณ์ที่เป็นทางการ
ภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานและเป็นทางการมักใช้ในการเขียนหนังสือและหนังสือพิมพ์
รวมทั้งการประกาศข่าวทางโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตาม มีผู้พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาแม่เพียงจำนวนน้อยที่ใช้ภาษาระดับทางการในการสนทนาในชีวิตประจำวัน
สถานะการเป็นภาษาราชการ
ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการในอินโดนีเซียใช้สำหรับทุกวัตถุประสงค์
รวมทั้งการศึกษา การสอบระดับชาติ (อูเยียน นาซียนนัล) ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
และเป็นหนึ่งในภาษาที่ต้องสอบ
ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาสำหรับสื่อในอินโดนีเซีย
เช่นวารสาร หนังสือ
ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการในประเทศอินโดนีเซีย ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในด้านการศึกษา
เอกสารทางราชการเขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย และเป็นภาษาในสื่อในอินโดนีเซีย เช่น
วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาษานี้ใช้อย่างแพร่หลายทั่วอินโดนีเซีย ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินโดนีเซียมาตรา
15 ซึ่งได้กำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติของอินโดนีเซียได้ระบุให้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติ ภาษานี้เป็นภาษาที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันในอินโดนีเซียและเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร
ภาษานี้ได้ประกาศให้เป็นภาษาเดียวของชาติในปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ
28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 โดยกำหนดให้ภาษามีพื้นฐานจากภาษามลายูสำเนียงรีเยา แม้ว่านักภาษาศาสตร์จะกล่าวว่านี่ไม่ใช่สำเนียงท้องถิ่นของรีเยาแต่เป็นสำเนียงมะละกาที่ใช้ในราชสำนักของยะโฮร์-รีเยา
ตั้งแต่การประกาศใน พ.ศ. 2471 และการกำหนดในรัฐธรรมนูญเมื่อ
พ.ศ. 2488 ภาษานี้ได้ใช้ในอินโดนีเซียตลอดมา
ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในอินโดนีเซีย เช่น ภาษาชวา
และภาษาดัตช์ในสมัยอาณานิคม ดังนั้น
ภาษาอินโดนีเซียจึงมีคำยืมที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับภาษามลายู ในอีกมุมมองหนึ่ง
ภาษาอินโดนีเซียจึงมีสถานะเหมือนเป็นภาษาประดิษฐ์ที่เป็นภาษาราชการใน พ.ศ. 2471
เนื่องจากเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางวิชาการมากกว่าเกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ
การพัฒนาแยกกันระหว่างภาษามาเลเซียในมาเลเซียกับภาษาอินโดนีเซียทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน
ซึ่งมีเหตุผลมาจากความละเอียดอ่อนทางการเมืองและประวัติการวางมาตรฐานภาษามากกว่าจะเป็นเหตุผลทางวัฒนธรรม
ในมาเลเซียจะถือว่าภาษาทั้งสองเป็นสำเนียงที่ต่างกันของภาษาเดียวกัน
แต่ในอินโดนีเซียมองว่าเป็นภาษาต่าง
คำคุณศัพท์
คำคุณศัพท์ในภาษาอินโดนีเซียตามหลังคำนาม
ภาษาไทย
|
ความหมายเฉพาะคำ
|
แปลเป็นแม่
|
แปลเป็นภาษาอังกฤษ
|
Ini
buku merah
|
นี่ หนังสือ สีแดง
|
นี่คือหนังสือสีแดง
|
This
is a red book.
|
Ia
adalah orang terkenal
|
เขา เป็น คน มีชื่อเสียง
|
เขาเป็นคนมีชื่อเสียง
|
He
is a famous person.
|
Ini
buku saya
|
นี่ หนังสือ ฉัน
|
นี่คือหนังสือของฉัน
|
This
is my book.
|
ปัจจัย
ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยที่ซับซ้อน
วิธีสร้างคำทำได้หลายแบบได้แก่
·
ปัจจัย Ber + ajar (สอน) = BeLajar (ลบ 'R' และเติม 'L')
= เรียน
·
ปัจจัย Me + ajar + -kan = meNGajarkan (เติม 'NG')
= สอน (สกรรมกริยา)
·
ปัจจัย Ber + judi (พนัน) = Berjudi (Ber- ไม่เปลี่ยนรูป)
= เล่นพนัน
·
ปัจจัย Me + judi + -kan = meNjudikan (เติม'N')
= เสียพนัน
คำแต่ละคำอาจมีความหมายทางไวยากรณ์ต่างไปขึ้นกับปัจจัยที่ใช้
เช่นme + makan (memakan) หมายถึงกิน
(ในความหมายของการย่อยสลาย) ในขณะที่ di + makan (dimakan) หมายถึงถูกกิน ter + makan (termakan) หมายถึงถูกกินโดยทันที
ปัจจัยที่ต่างกัน 2 คำอาจใช้เปล่ยนความหมายของคำ เช่น duduk
หมายถึงนั่งลง mendudukkan หมายถึงให้บางคนนั่งลงหรือวางของบางอย่างลง
menduduki หมายถึง นั่งบนบางอย่าง didudukkan หมายถึง ถูกทำให้นั่งลง diduduki หมายถึง
ถูกทำให้นั่งบน
ปัจจัยสร้างคำนาม
ชนิดของปัจจัย
|
Affix
|
ตัวอย่างรากศัพท์
|
ตัวอย่างคำที่ได้
|
อุปสรรค
|
pe
(N) -
|
duduk (นั่ง)
|
penduduk (ที่อยู่)
|
ke-
|
hendak (ต้องการ)
|
kehendak (desire)
|
|
juru-
|
acara (event)
|
juruacara (event host)
|
|
อาคม
|
-el-
|
tunjuk (ชี้)
|
telunjuk (ความต้องการ)
|
-em-
|
kelut (dishevelled)
|
kemelut (chaos, crisis)
|
|
-er-
|
gigi (ฟัน)
|
gerigi (toothed blade, serration)
|
|
ปัจจัย
|
-an
|
bangun (ตื่นขึ้น ยกขึ้น)
|
bangunan (สร้าง)
|
Confix
|
ke-...-an
|
raja (กษัตริย์)
|
kerajaan (ราชอาณาจักร)
|
pe-...-an
|
kerja (ทำงาน)
|
pekerjaan (อาชีพ)
|
ปัจจัยสร้างคำกริยา
ชนิดของปัจจัย
|
Affix
|
ตัวอย่างรากศัพท์
|
ตัวอย่างคำที่ได้
|
อุปสรรค
|
be
(L) -
|
ajar (สอน)
|
belajar (เรียน) - Intransitive
|
me
(N) -
|
tolong (ช่วย)
|
menolong (ช่วย) - Active transitive
|
|
me
(NG) -
|
gambar (ภาพ)
|
menggambar (วาดภาพ) - Active transitive
|
|
di-
|
ambil (take)
|
diambil (is being taken) - Passive transitive
|
|
memper-
|
dalam (ลึก)
|
memperdalam (ทำให้ลึก)
|
|
dipe
(R) -
|
dalam (ลึก)
|
diperdalam (กำลังลึกลงไป)
|
|
te
(R) -
|
makan (กิน)
|
termakan (กินอย่างทันทีทันใด)
|
|
ปัจจัย
|
-kan
|
letak (เก็บ)
|
letakkan (เก็บ) - Grammatical mood#Imperative mood
transitive
|
-i
|
jauh (ไกล)
|
jauhi (avoid) - Imperative
transitive
|
|
Confix
|
be
(R) -...-an
|
pasang (ซ่อม)
|
berpasangan (ถูกซ่อม)
|
be
(R) -...-kan
|
dasar (base)
|
berdasarkan (based upon)
|
|
me
(M) -...-kan
|
pasti (แน่ใจ)
|
memastikan (มั่นใจ)
|
|
me
(N) -...-i
|
teman (companion)
|
menemani (to accompany)
|
|
mempe
(R) -...-kan
|
guna (ใช้)
|
mempergunakan (to misuse, to utilise)
|
|
mempe
(L) -...-i
|
ajar (สอน)
|
mempelajari (เรียน)
|
|
ke-...-an
|
hilang (หายไป)
|
kehilangan (สูญหาย)
|
|
di-...-i
|
sakit (เจ็บปวด)
|
disakiti (รู้สึกเจ็บปวด)
|
|
di-...-kan
|
benar (right)
|
dibenarkan (is allowed to)
|
|
dipe
(R) -...-kan
|
kenal (know, recognise)
|
diperkenalkan (is being introduced)
|
ปัจจัยสร้างคำคุณศัพท์
ชนิดของปัจจัย
|
Affix
|
ตัวอย่างรากศัพท์
|
ตัวอย่างคำที่ได้
|
อุปสรรค
|
te
(R) -
|
kenal (know)
|
terkenal (famous)
|
se-
|
rupa (appearance)
|
serupa (คล้าย)
|
|
ปัจจัย
|
-em-
|
cerlang (radiant bright)
|
cemerlang (bright, excellent)
|
-er-
|
sabut (husk)
|
serabut (dishevelled)
|
|
Confix
|
ke-...-an
|
barat (west)
|
kebaratan (westernized)
|
เพศทางไวยากรณ์
ภาษาอินโดนีเซียมีการแบ่งเพศของคำน้อย
คำจำนวนมากที่อ้างถึงบุคคลไม่มีการจำแนกเพศ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่ระบุเพศ
ไม่มีการแยกคำที่หมายถึง"คนรัก" ออกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง
ถ้าต้องการระบุเพศจะเพิ่มคำคุณศัพท์เข้ามา เช่น adik laki-laki หมายถึงน้องชายที่สืบสายโลหิตเดียวกัน
ไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ "man" ที่หมายถึงผู้ชายและความเป็นมนุษย์โดยทั่วไป
คำบางคำมีการแบ่งเพศบ้าง เช่น putri หมายถึงลูกสาว และ putra หมายถึงลูกชาย คำเหล่านี้มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น
เช่นตัวอย่างข้างต้นเป็ยคำยืมจากภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาชวาโบราณ ในจาการ์ตาและบางพื้นที่
abang อาจใช้หมายถึงพี่ชาย kakak (พี่ที่สืบสายโลหิตเดียวกัน)
หมายถึงพี่สาว
คำประสม
ภาษาอินโดนีเซียมีการสร้างคำใหม่ด้วยการเชื่อมรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น rumah หมายถึงบ้าน makan หมายถึงกิน รวมกันเป็น rumah makan หมายถึงภัตตาคาร
ส่วนอีกตัวอย่างคือ sepak แปลว่า แตะ bola แปลว่า บอล รวมกันเป็น sepak bola จะหมายถึง การแตะบอล
หรือฟุตบอล นั่นเอง แต่ภาษามาเลยเซีย จะเปลี่ยนจาก sepak bola กลายเป็น bola sepak ส่วนความหมายก็ยังเปลี่ยนแปล
เหมือนเดิม
ลักษณนาม
ภาษาอินโดนีเซียมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ
ในเอเชีย เช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาไทย ตัวอย่างคำลักษณนาม เช่น ekor ใช้กับสัตว์ buah ใช้กับนามไม่มีชีวิต
lembar ใช้กับกระดาษ biji ใช้กับสิ่งที่เป็นก้อนกลม
ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการละคำลักษณนามได้
คำปฏิเสธ
ภาษาอินโดนีเซียมีรูปคำปฏิเสธสามคำคือ tidak bukan และ belum
·
Tidak บางครั้งลดรูปเหลือ
tak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและคุณศัพท์ เช่น Saya tidak
tahu (ฉันไม่รู้) หรือ Ibu saya tidak senang (แม่ของฉันไม่มีความสุข)
·
Bukan ใช้ปฏิเสธคำนาม
เช่น Itu bukan seekor anjing (นั่นไม่ใช่หมา)
·
Belum ใช้ปฏิเสธประโยคหรือวลีที่บางอย่างยังไม่สมบูรณ์
และใช้ตอบปฏิเสธคำถาม เช่น Anda sudah pernah ke Indonesia (Belum?) = คุณเคยอยู่อินโดนีเซียมาก่อน (หรือไม่) Belum, saya masih belum
pernah pergi ke Indonesia = ไม่, ฉันไม่เคยอยู่อินโดนีเซีย
คำปฏิเสธอีกคำหนึ่งในภาษาอินโดนีเซียคือ jangan ซึ่งตรงกับคำปฏิเสธ do not ในภาษาอังกฤษ jangan ใช้ปฏิเสธคำสั่งหรือแสดงการต่อต้านการกระทำ
เช่น Jangan tingalkan saya = อย่าทิ้งฉัน
พหูพจน์
การแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ เช่น บุคคลใช้ว่า orang ประชาชนใช้ว่า orang-orang แต่ประชาชน 1,000 คนใช้ว่า seribu orang แต่คำโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องแสดงความเป็นพหูพจน์
แต่บางครั้งการซ้ำคำไม่ได้แสดงความเป็นพหูพจน์เสมอไป เช่น hati หมายถึง หัวใจหรือตับขึ้นกับบริบท ในขณะที่ hati-hati หมายถึง ระมัดระวัง นอกจากนั้นบางคำเช่น biri-biri (แกะ)
และ kupu-kupu (ผีเสื้อ)
อาจเป็นทั้งรูปพหูพจน์และเอกพจน์ขึ้นกับบริบทหรือตัวเลขในประโยค
สรรพนาม
สรรพนามแทนบุรุษที่ 1 พหูพจน์ มีสองคำ คือ kami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ Kita
(รวมผู้ฟัง) สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์
มีสองคำคือ saya และ aku มีความหมายเหมือนกันแต่
saya เป็นทางการมากกว่า aku ใช้กับคนสนิทในครอบครัว
หรือกับเพื่อน สรรพนามบุรุษที่ 2 มีสามคำคือ kamu
anda และ kalian anda เป็นคำที่สุภาพที่สุด kalian
เป็นรูปพหูพจน์ และไม่เป็นทางการมากนัก นอกจากนี้
ภาษาอินโดนีเซียยังมีคำสรรพนามอื่นๆอีก
ซึ่งขึ้นกับโครงสร้างทางสังคมและอิทธิพลของภาษาถิ่น คำบางคำถือว่าสุภาพมากและใช้ในบทกวีเท่านั้น
เช่น saudara/sauderi
สรรพนามชี้เฉพาะ
มีสองคำคือ ini (นี่) ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดกับ itu (โน่น)
ใช้กับสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด ทั้งสองคำนี้ไม่มีรูปพหูพจน์
การเรียงลำดับคำ
รูปแบบพื้นฐานของประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม
แต่จะใช้ในรูปถูกกระทำ กรรม-กริยา- (ประธาน) ได้ ซึ่งถือเป็นประโยคแบบละประธาน
คำขยายตามหลังคำที่ถูกขยาย
กริยา
ไม่มีการผันตามจำนวนหรือบุคคล ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล
แต่แสดงกาลด้วยการเติมคำในประโยค เช่น เมื่อวานนี้หรือคำบ่งกาลอื่นๆ เช่น sudah (พร้อมแล้ว) อย่างไรก็ตาม
ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยของกริยาที่ซับซ้อน เพื่อแบ่งแยกรูปกระทำ-ถูกกระทำ
การใช้ปัจจัยเหล่านี้อาจถูกละในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ
การเน้น
ในการพูด
การเน้นที่ส่วนของประโยคต่างกันทำให้มีการเรียงลำดับคำต่างกันไปได้ รูปแบบเหล่านี้พบน้อยในการเขียน
ตัวอย่าง เช่น
·
Saya pergi ke pasar kemarin = ฉันไปตลาดเมื่อวานนี้ (รูปปกติหรือเน้นประธาน)
·
Kemarin saya pergi ke pasar = เมื่อวานนี้ฉันไปตลาด (เน้นที่เมื่อวาน)
·
Ke pasar saya pergi, kemarin = ที่ตลาด, ฉันไปเมื่อวานนี้ (เน้นสถานที่ที่ไป)
·
Pergi ke pasar, saya, kemarin = ไปตลาด, ฉัน, เมื่อวานนี้
(เน้นที่การเดินทาง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น